1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
 
กองบิน ๖ จัดอบรมการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือเหตุการณ์การใช้อาวุธปืนในการสร้างความรุนแรง เพื่อเป็นการระวัง ป้องกัน และรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากภัยคุกคาม การก่อการร้ายในรูปแบบต่าง ๆ โดยมี นาวาอากาศเอก ชญานิน หินเธาว์ เสนาธิการกองบิน ๖ เป็นประธานในพิธี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ ต.ค.๖๕
ณ หอประชุมธูปะเตมีย์ บน.๖
โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก พ.ต.อ.ปิยรัช สุภารัตน์ ผู้กำกับ 1 กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว 1 พร้อมด้วยหน่วยอรินทราช 26 ตำรวจนครบาล ในการดำเนินการอบรมและฝึกปฏิบัติจากสถานสมมติ
ฐานแรก คือ “หนี ซ่อน สู้”
การหนี พิจารณาจดจำทางเข้าออกทางหลัก ทางสำรอง หน้าต่าง ช่องทางหนี ต้องสังเกตทางเข้าออกว่ามีกี่ทิศทาง หลีกเลี่ยงการหนีไปทางตัน วิธีการนี้สามารถนำไปใช้เอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ ไม่เฉพาะเหตุการณ์ยิงกราดเท่านั้น เช่น ไฟไหม้ แผนดินไหว หรืออาคารถล่ม เป็นต้น ทุกครั้งที่ไปสถานที่ใดที่หนึ่ง ให้จดจำและศึกษาไว้เพื่อให้การหนีง่ายขึ้น “ทางเข้าออกหลัก จะมีผู้ใช้หนีมากที่สุด” “จึงให้มองหาทางเข้าออกสำรอง เป็นขั้นต่อไป”
เจ้าหน้าที่ รปภ. ที่รู้ผังเข้าออกให้ช่วยบอกทาง และทิศทางการหนีต้องตรงข้ามกับเสียงปืน สุดท้ายเมื่ออยู่ในพื้นที่ปลอดภัยแล้วให้โทรแจ้ง 191 ทันที
การซ่อน เมื่อไม่สามารถหนีหรือหนีไม่ทันและไม่แน่ใจว่าคนร้ายอยู่จุดไหนจะต้องซ่อนทันที
• ล็อคประตูทุกบานที่มี
• ปิดไฟ
• อยู่ในที่มองเห็นยาก (ใต้โต๊ะ, ข้างประตู)
• หาสิ่งของที่แข็งแรงมาขวางปิดประตู
• เปลี่ยนมือถือให้เป็นระบบสั่น ปิดเสียง ส่งให้ญาติที่สนิทหรือช่องทางต่างๆ แก่เจ้าหน้าที่โดยไม่แชร์ต่อโซเชียล
• หมอบต่ำ อย่ากอดกัน
• พิจารณาหาทางออกสำรองในห้อง เช่น หน้าต่าง
• อยู่ให้เงียบที่สุด คอยสังเกตเสียงต่างๆ ที่ประตู
การสู้ เมื่อไม่สามารถหนีไปที่อื่นได้แล้ว ข้อควรระวัง! การสู้เป็นกรณีที่คนร้ายบุกเข้ามาหาเรายังที่ซ่อน ไม่ใช่การออกไปสู้กับคนร้ายกรณีที่คนร้ายยังไม่ตรวจพบเราเจอ
• ตำแหน่งการยืน ที่ดีที่สุดคือ 2 ข้างของประตู
• แย่งปืนหรือปลดปืนเป็นทางเลือก
• หาอุปกรณ์ในห้องที่สามารถเป็นอาวุธได้ เลือกอาวุธที่ยาวที่ไม่ต้องเข้าใกล้ผู้โจมตีมาก ถังดับเพลิง, ขวานดับเพลิง, น้ำยาล้างห้องน้ำ, โต๊ะเก้าอี้, ปากกาดินสอ รวมถึงแม้จะมือเปล่าด้วย ฯลฯ
• ร่วมกันสู้จากทุกคนที่อยู่ด้วยกัน ไม่ใช่สู้แค่คนใดคนหนึ่ง จนกว่าคนร้ายจะหยุดหรือไม่สามารถกระทำอันตรายต่อเราได้แล้ว
ฐานที่สอง คือ “การปฐมพยาบาลเบื้องต้น” เน้นการรักษาพยายามช่วยเหลือชีวิต ทั้งแบบใช้อุปกรณ์สายรัดห้ามเลือดแบบ CAT Tourniquet (สูง, แน่น, สายไม่บิด, ไม่มีสิ่งใดอยู่ข้างใต้) และแบบแสวงเครื่อง (Improvised Tourniquets) สามารถตรวจเช็คอาการผลกระทบอื่นๆ ได้เพื่อรอให้หน่วยปฐมพยาบาลมารับการรักษาตัวต่อ
การสาธิตท่าพักฟื้น (ทั้งท่าที่ถูกต้อง และไม่ถูกต้อง), สร้างทางลำเลียงอพยพผู้บาดเจ็บที่ปลอดภัย, การอพยพลำเลียงทางการแพทย์อย่างรวดเร็ว
ฐานที่สาม คือ “การปฏิบัติเมื่อเจอกับวัตถุต้องสงสัยว่าเป็นระเบิด” กฎสามข้อที่ต้องจำคืออย่าแตะสัมผัสวัตถุหรือบุคคลต้องสงสัย สร้างระยะห่าง มุมและช่องทางเดินอากาศ ทำสัญลักษณ์สื่อสารถึงตำแหน่งของที่วางระเบิด เพื่อให้มีความเข้าใจและสามารถร้องขอเจ้าหน้าที่
Stationary IED:
• ทำสัญลักษณ์ , ติดต่อสื่อสาร, ร้องขอเจ้าหน้าที่ EOD, หาเส้นทางอื่นที่ปลอดภัย
• จะย้อนกลับไปโถงทางเดินที่เลวร้ายต่อเมื่อถูกยิง และไม่มีเส้นทางเลือกอื่น
Hand-deployed IED
• ไกลกว่า 5 เมตร = "BOMB COVER" กลับไปยังที่กำบังที่ใกล้ที่สุด
• ทำสัญลักษณ์สื่อสาร, หาเส้นทางอื่น
• จะย้อนกลับไปโถงทางเดินที่เลวร้ายก็ต่อเมื่อถูกยิง และไม่มีเส้นทางเลือกอื่น
#หนี ซ่อน สู้
#WING6#AIRLIFT#ThaiRoyalAirForceQuality